พุทธประวัติ ตอน ผจญมาร
18ธ.ค.
พุทธประวัติ ตอน ผจญมาร
ในวันก่อนที่พระสิทธัตถะจะตรัสรู้ พระองค์ได้ประทับบนบัลลังก์หญ้าคา พร้อมได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า
“แม้เลือดและเนื้อในสรีระนี้จะเหือดแห้งไป เหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามทีเถิด
ตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เราจะไม่ยอมลุกจากบัลลังก์นี้เป็นอันขาด”
เมื่อพญามารทราบปณิธานอันแน่วแน่ ก็ระดมพลเสนามารมาขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระองค์ แต่พระองค์ไม่หวาดหวั่นประการใด เมื่อพญามารอ้างว่าบัลลังก์ที่พระองค์ประทับเป็นของตน โดยมีเหล่าเสนามารเป็นพยาน และท้าทายว่ามีใครที่เป็นพยานให้แก่พระองค์ได้บ้างว่าบัลลังก์นี้เป็นของพระองค์ พระสิทธัตถะจึงเหยียดนิ้วชี้ลงแผ่นดิน เพราะในการให้ทานในแต่ละครั้งพระองค์ทรงหลั่งทักษิโณทก ทันใดนั้นพระแม่ธรณีจึงมาเป็นพยาน และบีบมวยผมซึ่งชุ่มด้วยน้ำแล้วหลั่งไหลออกมาเป็นทะเลท่วมเหล่ามารจนพ่ายหมดสิ้นบทวิเคราะห์พุทธประวัติตอนผจญมาร
คำว่า “มาร” ในพระพุทธศาสนา หมายถึง สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี สิ่งที่ขัดขวางไม่ให้บุคคลบรรลุถึงความดีงาม ประกอบด้วย
- กิเลสมาร ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นตัวขัดขวางความดีทั้งปวง
- ขันธมาร ได้แก่ รูป เวทนา สังขาร สัญญา สังขาร เป็นความหลงในสภาพที่มีการปรุงแต่งขึ้น
- อภิสังขารมาร หมายถึง มารที่ขัดขวางมิให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด เช่น การทำบุญแล้วยังยึดติดอยู่ในผลแห่งบุญนั้น
- เทวปุตตมาร หมายถึง มารที่คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลให้ห่วงพะวงอยู่ในกามสุข จนไม่อาจเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้
- มัจจุมาร หมายถึง มารคือ ความตาย เพราะความตายเป็นตัวการตัดโอกาสที่จะได้ทำความดีทั้งหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น