วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

"พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน"
          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา กาลนั้น บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายทั้งปวงที่ประชุมอยู่ในอุทยานสาลวันนั้นต่างก็เศร้าโศกร้ำไรรำพันปริเทวนาการ คร่ำครวญถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก พระอานนท์มหาเถระเจ้าได้แสดงธรรมีกถาปลุกปลอบบรรเทาจิตบริษัทให้เสื่อมสร่างจากความเศร้าโศกตามควรแก่วิสัยและควรแก่เวลา
          ครั้นสว่างแล้ว พระอนุรุทธัมหาเถระเจ้าก็มีเถระบัญชาให้พระอานนท์รีบเข้าไปในเมืองกุสินารา แจ้งข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้าแก่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อมัลลกษัตริย์ได้สดับข่าวปรินิพพานกำสรดโศกด้วยอาลัยในพระบรมศาสดาเป็นกำลัง จึงดำรัสสั่งให้ประกาศข่าวปรินิพพานแก่ชาวเมืองให้ทั่วนครกุสินารา แล้วนำเครื่องสักการบูชานานสุคนธชาติพร้อมด้วยผ้าขาว ๕๐๐ พับ เสด็จไปยังอุทยานสาลวันทำการสัการบูชาพระสรีระพระบรมศาสดาด้วยบุปผามาลัยสุคันธชาติเป็นอเนกประการ
          มวลหมู่มหาชนเป็นอันมากแม้จะอยู่ในที่ไกล เมื่อได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระบรมศาสดา ต่างก็ถืออนานาสุคนธชาติมาสักการบูชามากมายสุดจะคณา เวลาค้ำก็ตามชวาลาสว่างไสวทั่วทั้งสาลวันประชาชนต่างพากันมาไม่ขาดสายตลอดเวลา ๖ วันไม่มีหยุด พากันรีบรุดมาทำการสักการบูชาด้วยความเลื่อมใสถวายความเคารพอันสูงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
          ครั้นวันที่ ๗ ได้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพขึ้นประดิษฐานบนเตียบมาลาอาสน์ ซึ่งตกแต่งด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วเคลื่อนขบวนอัญเชิญไปโดยทางทิศอุดร เข้าไปภายในพระนครกุสารา ประชาชนพากันสโมสรเข้าขบวนแห่ตามพระพุทธสรีระศพสุดประมาณ เสียงดุริยางค์ดนตรีแซ่ประสานกับเสียงมหาชนดังสนั่นลั่นโกลาหลเป็นอัศจรรย์ ทั้งดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้อันเป็นของทิพย์ในสรวงสวรรค์ตกโปรยปรายละลิ่วลงจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วเมืองกุสินาราร่วงหล่นลงมาสักการบูชาพระบรมศาสดา ขบวนมหาชนอัญเชิญพระพุทธสรีระศพได้ผ่านไปในวิ๔ทางท่ามกลางพระนครกุสินารา ประชาชนทุกถ้วนหน้าพากันสักการบูชาทั่วทุกสถาน ตลอดทางที่พระพุทธสรีระศพแห่ผ่านไปตามลำดับ
          ครั้นเมื่อขบวนอัญเชิญผ่านมาถึงหน้าบ้านของนางมัลลิกา ผู้เป็นภรรยาของท่านพันธุละเสนาบดีซึ่งล่วงลับไปแล้ว นางมัลลิกาได้ขอร้องแสดงความประสงค์จะบูชาด้วยอาภรณ์มหาลดาปสาธน์อันสูงค่ามหาศาล มหาชนผู้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพก็วางเตียงมาลาอาสน์ลง นางมัลลิกาถวายอภิวาทเชิญเครื่องมหาลดาปสาธน์มาสวมพระพุทธสรีระศพเป็นเครื่องบูชา ขณะนั้นพระพุทธสรีระศพก็งามโอภาสเป็นที่เจริญตาเจริญใจ แล้วมหาชนก็อัญเชิญพระพุทธสรีระศพเคลื่อนจากที่นั้นออกจากประตูเมืองทางทิศบูรพา ไปสู่กุฎพันธเจดีย์
          ครั้นถึงยังจิตกาธานอันสำเร็จด้วยไม้จันทน์หอมงามวิจิตร ก็จัดการห่อพระพุทธสรีระศพด้วยทุกุลพัสตร์ภูษา ๕๐๐ ชั้น แล้วก็อัญเชิญลงประดิษฐานในหีบทองซึ่งประดิษฐบนจิตกาธานทำการสักการบูชาแล้วกษัตริย์มัลลราชทั้ง ๘ องค์ผู้เป็นประธานกษัตริย์ทั้งปวงก็นำเอาเพลิงจุดเพื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระเพลิงก็ไม่ติดตามประสงค์ แม้จะพยายามจุดเท่าใดก็ไม่บรรลุผลมัลลกษัตริย์มีความสงสัยจึงได้เรียนถามพระอนุรุทธะมหาเถระเจ้าว่า
          "ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเหตุใดเพลิงจึงไม่ติดโพลงขึ้น"
          พระอนุรุทธะมหาเถระกล่าวตอบว่า "เทวดาต้องการให้คอยท่านพระมหากัสสะเถระ หากยังมาไม่ถึงตราบใดไฟจะไม่ติดตราบนั้น ขณะนี้พระมหากัสสะเถระกำลังเดินทางมาใกล้จะถึงอยู่แล้ว
          เวลานั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้าพาภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เดินทางจากเมืองปาวามายังเมืองกุสินาราครั้นถึงยังพระจิตกาธานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระศพพระบรมศาสดาแล้ว ก็ทำจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณเวียนพระจิตกาธานสามรอบแล้ว เข้าสู่ทิศเบื้องพระยุคคลบาท น้อมถวายอภิวาทและตั้งอธิฐานจิต
          ครั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้ากับพระสงฆ์บริวาร ๕๐๐ และมหาชนทั้งหลาย กราบนมัสการพระบรมยุคลบาทโดยควรแล้ว ขณะนั้นเสียงโศกาปริเทวนาการของมวลเทพดาและมนุษย์ ซึ่งได้หยุดสร่างสะอื้นแล้วแต่ต้นวัน ก็ได้พลันดังสนั่นขึ้นอีกเสมอด้วยวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน
          ขณะนั้น เตโชธาตุก็บันดาลติดพระจิตกาธานขึ้นเองด้วยอานุภาพเทพยดา เพลิงได้ลุกพวยพุ่งโชตนาเผาพระพุทธสรีระศพ พร้อมคู่ผ้า ๕๐๐ ชั้นและเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ กับหีบทองและจิตกาธานจนหมดสิ้น ยั้งมีสิ่งซึ่งเพลิงมิได้เผาให้ย่อยยับไปด้วยอนุภาพพุทธอธิฐานดังนี้ ผ้าห่อหุ้มพระสรีระชั้นใน ๑ ผืน ผ้าห่อนหุ้มพระพุทธสรีระภายนอก ๑ ผืน ทั้งสองนี้แตกฉานการะจัดกระจาย ส่วนพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ทั้ง ๒ และพระอุณหิสปัฎ (กระบังหน้า) ๑ พระบรมธาตุทั้ง ๗ นี้ยังปกติดีมิได้แตกกระจัดกระจายผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าประสูติ

ประวัติพระพุทธเจ้า
จุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา
ประมาณ ๖๐๐ ปีเศษ ก่อนคริสต์ศักราชประเทศอินเดียหรือที่เรียกกันว่า ชมพูทวีปมีแคว้น หรือรัฐใหญ่ๆ รวมอยู่ 10 แคว้นด้วยกัน ในจำนวนนี้ ๘ แคว้น ปกครองแบบราชาธิปไตย คือมี พระเจ้าแผ่นดินปกครอง เช่น มคธ (ราชคฤห์ - เมืองหลวง), โกศล (สาวัตถี - เมืองหลวง), วังสะ (โกสัมพี - เมืองหลวง) เป็นต้น ที่เหลืออีก ๘ รัฐ เช่น วัชชี (เวสาลี - เมืองหลวง) มัลละ (ปาวา และกุสินารา - เมืองหลวง) เป็นต้น ปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือคณะราชย์ ซึ่งก็คือ ระบบประชาธิปไตยนั่นเอง
มีรัฐเล็กๆ ที่นับว่าเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้นรัฐหนึ่ง อยู่ทางเหนือสุดของอินเดียที่เชิงเขา หิมพานต์ (ภูเขาหิมาลัย) ชื่อ กรุงกบิลพัสดุ์ อยู่ในความอารักขาของแคว้นโกศล มีกษัตริย์ราชวงศ์ศากยะปกครอง พระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระอรรคมเหสีพระนามว่าพระนางศิริมหามายาเทวี
ประสูติ
คืนหนึ่งพระนางทรงสุบินนิมิต (ฝัน) ว่า มีท้าวมหาพรหมทั้งสี่ มายกแท่นบรรทม ของพระนาง ไปวางลงไว ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ ป่าหิมพานต์ (ต้นสาละเป็นต้นไม้สกุลเดียว กับต้นรังของเรา) เหล่าเทพธิดาพากันนำพระนาง ไปสรงสนานในสระอโนดาต ซึ่งอยู่ข้างๆ ต้นสาละนั้น เพื่อชำระล้างมลทิน ในขณะนั้น มีลูกช้างเผือกเชือกหนึ่ง ถือดอกบัวขาว ลงมาจากภูเขา ร้องเสียงลั่น เข้ามาทำประทักษิณสามรอบ แล้วเข้าสู่ท้องทางเบื้องขวาของพระนาง นับแต่นั้นมา พระนางก็เริ่ม ทรงครรภ์ (คนอินเดียมีวัฒนธรรมสูง และส่วนมากเคร่งศาสนาธรรมเนียมของเขา ไม่ว่า จะเป็นชาวพุทธ หรือพวกนับถือศาสนาฮินดู เมื่อย่างเข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งใด เขาจะทำความเคารพ สถานที่นั้นๆ ด้วยการทำประทักษิณเดินเวียนสามรอบเสมอ โดยเดินเวียนขวา)
เมื่อครรภ์พระนางแก่จวนครบทศมาส (๑๐ เดือน) ธรรมเนียมของคนอินเดียสมัยนั้น (ถึงแม้ขณะนี้ ยังปฏิบัติกันอยู่ แต่โดยมากเฉพาะลูกคนแรก) ฝ่ายหญิงจะเดินทางไปอยู่คลอดบุตร ที่บ้านพ่อแม่ของตน พระนางมายาเทวี จึงเสด็จกลับยังพระราชวังเดิมของกษัตริย์โกลิยะ (พระราชบิดาของพระนาง) ที่เมืองเทวทหะนคร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์นัก
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าลุมพินีอยู่กึ่งทางระหว่างกบิลพัสดุ์กับเทวะทหะนคร (แต่เวลานี้ ตัวเมืองทั้งสอง ไม่มีซากเหลืออยู่เลย) เมื่อขบวนยาตราไปได้ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากกบิลพัสดุ์ถึงป่าลุมพินี พระนางเจ้าประชวรพระครรภ์หนักจะประสูติ จึงให้หยุดขบวนประทับ ใต้ต้นสาละ ทรงยืนเหนี่ยวกิ่งสาละ ณ วันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐ เวลาสายใกล้เที่ยง เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ก็ได้ประสูติ จากครรภ์พระมารดา ทรงเพียบพร้อมด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการครบบริบูรณ์ อันเป็นลักษณะแห่ง องค์พุทธางกูรโดยเฉพาะ
และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่พระองค์ได้เสร็จออกจากพระครรภ์แล้ว ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ก้าวพระบาทออกไปได้ ๗ ก้าว พร้อมกับกล่าววาจา ประกาศความสูงสุดว่า
 "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ของเราจะไม่มีอีกแล้ว" ดังนี้
เป็นบุพนิมิตหมายว่า พระองค์จะประกาศรัศมีแห่งธรรมของพระองค์ไปใน เจ็ดชนบทน้อยใหญ่ ของอินเดียสมัยนั้น พระองค์ประสูติบริสุทธิ์ ไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ด้วยครรภ์มลทิน มีหมู่เทพยดามาคอยรับ ก่อนที่พระวรกายจะถึงแผ่นดิน มีธารน้ำร้อนน้ำเย็น พร้อมที่จะสรงสนาน พระวรกาย

พระองค์ประสูติได้เจ็ดวัน พระนางสิริมหามายาเทวีก็เสด็จทิวงคต  (พุทธองค์ทรงตรัสภายหลัง กับพระอานนท์ว่า "ถูกแล้ว อานนท์ จริงทีเดียว มารดาแห่งโพธิสัตว์มีชนมายุน้อย เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้ว ได้เจ็ดวัน ย่อมสวรรคต ย่อมเข้าถึงเทวนิกายชั้นดุสิต") พระนางสิริมหามายาเสด็จทิวงคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ได้มอบการเลี้ยงดู พระราชกุมารแก่พระนางปชาบดีโคตมี (น้องสาวพระนางมหามายาเทวี) และก็ทรงเป็นพระมเหสี ของพระเจ้าสุทโธนะด้วย พระนางทรงมีพระเมตตารักใคร่พระกุมารยิ่งกว่าพระโอรสของพระนางเอง ทั้งๆ ที่ต่อมา จะทรงมีพระโอรสและธิดาถึงสองพระองค์ คือ นันทกุมาร (ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายคลึงพระบรมศาสดาอย่างยิ่ง ในกาลต่อมา) และรูปนันทากุมารี

พระพุทธเจ้า10ชาติ

พระเจ้าสิบชาติ
 มหานิบาตชาดก 
จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวช หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญวิริยะบารมี คือการเพียรพยายามแหวกว่ายในมหาสมุทรที่มีคลื่นลมรุนแรง นานถึง ๗ วัน
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญเมตตาบารมี คือการไม่อาฆาตต่อผู้ทำร้ายพระองค์ แม้จะถึงซึ่งชีวิต กลับแสดงกิริยาต่อบุคคลนั้นด้วยเมตตา
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ต่อการประพฤติธรรม
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญปัญญาบารมี คือการใช้ปัญญาเข้าแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ
อย่างหลักแหลม และถูกต้องตามครรลองธรรม
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญศีลบารมี คือทรงมีพระทัยจดจ่อต่อการบำเบ็ญศีล
แม้จะมีอุปสรรคนานาประการ
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญขันติบารมี คือทรงอดทนต่อภัยที่จะมาถึงพระองค
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญอุเบกขาบารม
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญสัจจบารมี คือการรักษาคำมั่นของผู้เป็นนาย
แม้การรักษาคำมั่นนั้น จะเป็นภัยแก่ตัว
 
 
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีเป็นชาติสุดท้าย ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งเก้าประการที่บำเพ็ญมาแล้วในอดียชาติ รวมทั้งทางบารมีที่ทรงบำเพ็ญในชาตินี้ เป็นสิบประการ
 
 
พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลจะมาตรัสรู้เป็นพระอาริยเมตไตรย
 
 
พระมาลัยเทวเถระ ไปโปรดสัตว์นรก...
ได้มีผู้รู้อธิบายว่าแท้จริงแล้วพระมาลัยคือพระโพธิสัตว์ 
ซึ่งกำลังสร้างเมตตาบารมี